ทำความรู้จักกับ ‘ภาษีที่ดิน’ เรื่องที่ทุกคนควรรู้

This image has an empty alt attribute; its file name is fbUIaMNDfvLL9_o4S9S35L3W-iP7T3qB23sOoICKaOvn0Ne5nxZJ4LCfsZMk5oGUsrpRUYw1nq8TzJ9HHTPuJer5HINxdDFyjcVXsnAUES4wWmFdFKtNTfFH3fSh5glMAn3kFa0

ภาษีที่ดิน หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าหรือราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จัดเก็บโดย อปท. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำภาษีดังกล่าวนี้ไปพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บแทนภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะประกอบด้วย ที่ดินเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย ที่ดินในเชิงพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าของทรัพย์สินต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดินภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากมีเจ้าของกรรมสิทธิ์หลายคน ให้คนใดคนหนึ่งจ่ายก็ได้ ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่ดินก็เพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำ การแก้ปัญหาที่ดินรกร้าง และสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานรัฐ โดยมีรายละเอียดจำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีที่ดินดังนี้

  1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับทำเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น 
  • ที่ดินทำการเกษตร เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ยกเว้นการเสียภาษี มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท 3 ปีแรก คือปี 2563-2565 ยกเว้นการเสียภาษี มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ปี 2566 เป็นต้นไป เสียภาษี 0.15%
  • ที่ดินทำการเกษตร เจ้าของเป็นนิติบุคคล มูลค่า 50 – 75 ล้านบาท เสียภาษี 0.01% มูลค่า 75 – 100 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 100 – 500 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.07% มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.10% ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ไม่กำหนดมูลค่า เสียภาษี 0.15%

  1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับอยู่อาศัย แบ่งเป็น
  • ที่อยู่อาศัยหลังแรก เป็นเจ้าของบ้าน และเจ้าของที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี มูลค่า 50 – 75 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 75 – 100 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% มากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.10% ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.3%
  • ที่อยู่อาศัยหลังแรก เป็นเจ้าของบ้าน ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี มูลค่า 10 – 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.02% มูลค่า 50 – 75 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% และมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.10% ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.3%
  • ที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป มูลค่า 0 – 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.02% มูลค่า 50 – 75 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 75 – 100 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.10% ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท เสียภาษี 0.3%

  1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น ที่ใช้เชิงพาณิชย์ มูลค่า 0 – 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 50 – 200 ล้านบาท เสียภาษี 0.04% มูลค่า 200 – 1,000 บาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.07% ปี 2565 เป็นต้นไป ไม่กำหนดมูลค่า เสียภาษี 1.2%

  1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ทำประโยชน์ มูลค่า 0 – 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% มูลค่า 50 – 200 ล้านบาท เสียภาษี 0.04% มูลค่า 200 – 1,000 บาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.05% มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 0.07% ปี 2565 เป็นต้นไป ไม่กำหนดมูลค่า เสียภาษี 1.2%

กำหนดการเสียภาษีที่ดิน

  • เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่อยู่อาศัย จะได้รับหนังสือแจ้งการครอบครอง
  • เดือนเมษายนของทุกปี เจ้าหน้าที่ดิน เจ้าของที่อยู่อาศัย จะต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ไม่จ่ายภาษีที่ดินตามกำหนด จะเป็นอย่างไร ?

  1. กรณีที่ไม่ได้จ่ายภาษีที่ดินภายในเดือนสิงหาคม แต่จ่ายก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือนจะเสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนเงินภาษีที่ค้างชำระ
  2. กรณีจ่ายภาษีหลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกหนังสือเตือนมาแล้ว และไปชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน จะเสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระ
  3. กรณีจ่ายภาษีหลังกำหนดเวลาในหนังสือแจ้งเตือน หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีจ่ายภาษีที่ดินหลังจากระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ต้องเสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระ 
  4. กรณีไม่ได้เสียภาษีตามเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเพิ่มอีก 1% ต่อเดือน ของจำนวนเงินภาษีค้างชำระด้วย โดยเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดระยะเวลาชำระภาษี จนถึงวันที่ชำระภาษี แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย
  5. หากไม่ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างได้
  6. หากไม่ชำระภาษีเกินกำหนด 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนจากองค์กรการปกครองท้องถิ่น (อปท.) สามารถยึด หรืออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างชำระ เพื่อนำไปขายทอดตลาดได้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามข้อกำหนด จะต้องเสียภาษีที่ดินเป็นรายปี ซึ่งการประเมินอัตราภาษี ก็ขึ้นอยู่กับประโยชน์การใช้งานของพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่ดินก็เพื่อให้รัฐนำเงินไปพัฒนาประเทศ และยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินในประเภทต่าง ๆ นั่นเอง สามารถติดตามข้อมูลข่าววสาร สาระดี ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมได้ที่ DDproperty.com เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ได้รวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ-ขาย-เช่า ที่น่าสนใจ ทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสองในหลากหลายทำเลครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมเป็นแหล่งรวมความรู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการซื้อ-ขาย-เช่า เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินใจซื้อ ให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสามารถเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด